วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

ใบความรู้ 1 การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C#

การสร้างแอพลิเคชันด้วย MS Visual C#
        ในสภาพแวดล้อมของ MS Visual C# การพัฒนาแอพลิเคชันขึ้นมาหนึ่งชิ้นเรียกว่าการสร้างโซลูชัน
(solution) ซึ่งประกอบไปด้วยโปรเจ็กต์ (project) ตั้งแต่หนึ่งหรือมากกว่า โดยแต่ละโปรเจ็กต์เป็นชิ้นส่วน
ของซอฟต์แวร์ที่อาจเป็นส่วนของโปรแกรมหลัก หรือส่วนไลบรารี (library) ที่ถูกเรียกใช้โดยโปรเจ็กต์อื่นๆดังนั้นแอพลิเคชันแต่ละตัวจะประกอบไปด้วยโปรเจ็กต์อย่างน้อยหนึ่งโปรเจ็กต์เสมอ ใบความรู้นี้จะอธิบายถึงกระบวนการสร้างโปรเจ็กต์ใน MS Visual C# สำหรับพัฒนาแอพลิเคชันแบบคอนโซล โดยมีขั้นตอนต่อไปนี้

1. เลือกรายการเมนู New Project จากเมนู File ดังแสดงในรูปที่ 1.1
2. ในไดอะล็อกซ์ New Project เลือกชนิดของโปรเจ็กต์เป็น Console Application และตั้งชื่อให้กับ
โปรเจ็กต์ในกล่องข้อความด้านล่าง ดังแสดงตัวอย่างในรูปที่ 1.2 จากนั้นกดปุ่ม OK
3. โปรเจ็กต์ใหม่จะถูกสร้างขึ้นมาพร้อมทั้งไฟล์ชื่อ Program.cs ซึ่งมีโปรแกรมภาษา C# มาให้
บางส่วนเพื่อให้ง่ายต่อการเริ่มต้น ดังแสดงในรูปที่ 1.3 ในที่นี้เราอาจลบโปรแกรมที่ให้มาทั้งหมด
ทิ้งไปแล้วเริ่มเขียนโปรแกรมของเราเองก็ได้ เมื่อต้องการทดสอบการทำงานของโปรแกรมให้คลิก
ที่ปุ่ม
Run (  > ) เพื่อสั่งให้ MS Visual C# คอมไพล์โปรแกรมและให้โปรแกรมเริ่มทำงาน


รูปที่ 1.1 รายการเมนูสำหรับสร้างโปรเจ็กต์ใหม่


รูปที่ 1.2 ไดอะล็อกซ์ในสร้างโปรเจ็กต์ใหม่และการตั้งค่าสำหรับคอนโซลแอพลิเคชัน


รูปที่ 1.3 หน้าจอโดยรวมของ MS Visual C# หลังกระบวนการสร้างโปรเจ็กต์
ภาษา C# และเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม
          ภาษา C# เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (object-oriented programming language) ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา
โดยบริษัทไมโครซอฟต์ การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษา C# นั้นจะประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
• วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาโปรแกรม เช่น โปรแกรมจะติดต่อกับผู้ใช้อย่างไร
ข้อมูลที่ผู้ใช้จะป้อนให้กับโปรแกรมเป็นอย่างไร และผลลัพธ์จะถูกแสดงผลอย่างไร
• ออกแบบขั้นตอนวิธี โดยแสดงการทำงานของโปรแกรมในภาพรวมออกมาเป็นลำดับขั้นตอน แต่
ละขั้นตอนมีความชัดเจนและสามารถเปลี่ยนให้อยู่ในรูปคำสั่งภาษา C# ได้โดยง่าย
• นำขั้นตอนวิธีที่ออกแบบไว้มาสร้างเป็นไฟล์โปรแกรมรหัสต้นฉบับ (source code) ที่ถูกต้อง
ตามโครงสร้างและไวยกรณ์ของตัวภาษา C# ทั้งนี้ไฟล์รหัสต้นฉบับต้องมีนามสกุล .cs เสมอ
เช่น prog1.cs
• แปลงรหัสต้นฉบับให้อยู่ในรูปรหัสภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและทำงานตามคำสั่งได้
ขั้นตอนนี้ต้องใช้โปรแกรมที่เรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) ไฟล์รหัสภาษาเครื่องที่ถูกสร้างขึ้น
จากคอมไพเลอร์จะมีนามสกุล .exe ซึ่งย่อมาจาก executable หมายถึงไฟล์ที่ถูกเรียกทำงานได้
• ทดสอบการทำงานของโปรแกรม หากพบข้อผิดพลาดให้ตรวจสอบความถูกต้องในขั้นตอนที่ผ่าน
มา ซึ่งอาจหมายถึงการแก้ไขโปรแกรม ขั้นตอนวิธี หรือแม้กระทั่งวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ
ใหม่
ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมดังกล่าวนี้นอกจากจะสามารถจะใช้กับภาษา C# แล้วยังสามารถนำไป
ประยุกต์ใช้กับภาษาอื่น ๆ ได้ด้วย
เครื่องมือสำหรับพัฒนาโปรแกรมด้วย C#
ขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมที่กล่าวไปแล้วในข้างต้นอาจดูซับซ้อนสำหรับผู้ที่ยังไม่มี
ประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้มีซอฟต์แวร์สำหรับช่วยพัฒนาโปรแกรมภาษา C# อยู่มากมาย
ให้เลือกใช้ซึ่งเพิ่มความสะดวกและลดข้อผิดพลาดลงได้เป็นอย่างมาก ซอฟต์แวร์หลายตัวถูกแจกจ่าย
ให้นำไปใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หนึ่งในซอฟต์แวร์เหล่านั้นคือ Microsoft Visual C# 2008
Express Edition (ในที่นี้ขอเรียกย่อ ๆ ว่า MS Visual C#)
MS Visual C# มีคุณสมบัติคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้
• สร้าง/แก้ไข/บันทึก โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา C# ได้
• คอมไพล์และทดสอบโปรแกรมที่เขียนขึ้นได้ทันที
• เพิ่มความง่ายในการเขียนโปรแกรมด้วยคุณสมบัติการเติมเต็มคำสั่ง (Code Completion)
• สนับสนุนการพัฒนาโปรแกรมทั้งประเภทที่ติดต่อกับผู้ใช้ผ่านคอนโซล (Console Application) ซึ่ง
รับข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์และแสดงผลข้อมูลในรูปตัวอักษรเพียงอย่างเดียว ดังตัวอย่างในรูปที่ 1.4
และประเภทที่ใช้คุณสมบัติของวินโดวส์เต็มรูปแบบ (Windows Application) ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้งาน
ควบคุมโปรแกรมโดยใช้เมาส์และแสดงผลในแบบกราฟิกได้ ดังตัวอย่างในรูปที่ 1.5

รูปที่ 1.4 ตัวอย่างคอนโซลแอพลิเคชัน (Console Application)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น